หลักสูตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
ปรัชญา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม มุ่งพัฒนากำลังคนด้านการจัดการเอกสาร จดหมายเหตุ และแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นผู้ที่สามารถบูรณาการศาสตร์และศิลป์มาสืบสาน ต่อยอด และพัฒนาสถาบันจดหมายเหตุและมรดกทางวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติในฐานะแหล่งสร้างองค์ความรู้และต้นทุนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาความสำคัญ
การปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรพหุวิทยาการ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) วางอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาเพื่อตอบสนอง (1) นโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 (2) การดำรงอยู่ของประเทศในยุคสังคมฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (3) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายนอกที่จะเป็นแหล่งตลาดงานของมหาบัณฑิตของหลักสูตร (4) นโยบายและมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ระดับปริญญาโท (5) ปรัชญาการการศึกษา ปณิธาน อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกรอบคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะโบราณคดี และ (6) แนวทางการจัดการศึกษาวิชาชีพจดหมายเหตุซึ่งกำหนดโดยสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศ (International Council on Archives - ICA)คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมได้ทำการศึกษาบริบทแวดล้อมทั้ง 6 ประการดังกล่าวและค้นพบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการนำเอกสาร จดหมายเหตุ สารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม โบราณวัตถุ ภาพศิลปะ ซึ่งเป็นต้นทุนทาง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบการพัฒนาให้หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และหรือหอศิลป์ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะให้ทั้งองค์ความรู้และรายได้ให้กับประเทศ แต่จำนวนบุคลากรที่จะมาจัดการในเรื่องดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอ
ในประเทศไทย จำนวนหอจดหมายเหตุ หอประวัติศาสตร์ หอเกียรติยศ และแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุชุมชนทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามนโยบายของประเทศที่จะส่งเสริมให้สถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย แต่จำนวนบุคลากรที่สามารถนำทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในเรื่องกระบวนการจัดการเอกสาร การจัดการจดหมายเหตุ การจัดการสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม และการจัดการแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทงานจดหมายเหตุในประเทศไทยที่จะต้องบริหารจัดการทั้งเอกสาร จดหมายเหตุ และมรดกทางวัฒนธรรมประเภทอื่น ๆ อาทิ โบราณวัตถุ วัตถุพิพิธภัณฑ์ และศิลปวัตถุที่อยู่ในครอบครองไปด้วยนั้นยังมีไม่เพียงพอ
นโยบายของรัฐบาลไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะต้องทำงานอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ แต่ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงานราชการในเรื่องความสำคัญของเอกสารรวมทั้งเอกสารดิจิทัล ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลยังมีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งความสามารถของบุคลากร ในการวางระบบการจัดการเอกสารภายในหน่วยงานของตนให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเอกสารเหล่านั้นจะไม่ถูกทำลาย แก้ไข สูญหาย และสามารถค้นคืนได้ก็มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน
นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะโบราณคดีที่ต้องการสร้างหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษาและผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ระดับปริญญาโท ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ให้เป็นผู้ที่สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ในยุคสังคมฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเทศไทยจึงต้องการหลักสูตรที่จะสามารถผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถนำเอาความรู้ด้านการจัดการเอกสาร จดหมายเหตุ และสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมไปพัฒนากระบวนการจดหมายเหตุ พัฒนาระบบการจัดเก็บสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม และสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในหลักสูตรนี้ ตั้งแต่ ประเทศ รัฐบาล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะโบราณคดี ผู้บริหารจัดการหลักสูตร ผู้สอน นักศึกษา มหาบัณฑิต ตลาดแรงงานและผู้ใช้มหาบัณฑิต
วัตถุประสงค์
- ผลิตนักจดหมายเหตุและหรือบุคลากรหรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการจดหมายเหตุ ที่สามารถพัฒนากระบวนการจัดการจดหมายเหตุภายในองค์กรของตนทุกกระบวนการให้ได้มาตรฐานตามแนวทางการจัดการจดหมายเหตุซึ่งกำหนดโดยสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศ (International Council on Archives - ICA) และสอดคล้องกับบริบทงานจดหมายเหตุในประเทศไทย
- ผลิตนักจัดการเอกสารและหรือบุคลากรหรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการเอกสาร ที่สามารถนำหลักวิชาการทางการจัดการเอกสาร มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการเอกสาร (ISO 15489) และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเอกสารในความรับผิดชอบของตนให้คงอยู่ เข้าถึงได้ และส่งมอบให้หอจดหมายเหตุไปจัดเก็บเป็นเอกสารจดหมายเหตุอย่างสมบูรณ์ ครบถ้วนและถูกต้องตามกฎหมาย
- ผลิตนักจัดการแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม ที่สามารถรับมอบ ประเมินคุณค่า อนุรักษ์จัดเก็บ และเผยแพร่เอกสาร จดหมายเหตุ สารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม โบราณวัตถุ และภาพศิลปะ ในรูปแบบแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม โดยประยุกต์ใช้หลักการจัดการเอกสาร หลักการจัดการจดหมายเหตุ หลักการจัดการสารสนเทศ และหลักการจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ให้สอดคล้องกับบริบทประเทศไทยที่ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้
- ผลิตนักวิชาการด้านการจัดการเอกสาร การจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถทำวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ด้านการจัดการเอกสาร การจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมมาพัฒนากระบวนงานเอกสาร กระบวนการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม และกระบวนการจัดการแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมในประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ภาคการศึกษา 1/2565
104 501 Archives and Cultural Heritage Information in Knowledge-based คลิกที่นี่
104 511 Concepts and Theories of Archives and Cultural Heritage คลิกที่นี่
104 513 Selection, Acquisition and Arrangement of Archival Documents คลิกที่นี่
104 535 Museums and Art Galleries คลิกที่นี่
104515 Information Technology for Archives and Cultural Heritage Information Management คลิกที่นี่
ภาคการศึกษา 2/2565
104 504 Literature Review for Postgraduate Students คลิกที่นี่
104 514 Conservation and Preservation of Archives and Cultural Heritage Information Collection คลิกที่นี่
104 516 Seminar on Archival and Cutural Heritage Information Management คลิกที่นี่
104 533 Oral History and Audio-visual Archives คลิกที่นี่
104 538 Community Archives คลิกที่นี่