หลักสูตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
ปรัชญา
การจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ความสำคัญ
การปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรพหุวิทยาการ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) วางอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาเพื่อตอบสนอง (1) นโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 (2) การเตรียมความพร้อมของประเทศเข้าสู่ยุคสังคมฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (3) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) นโยบายและมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework: Higher Education -TQF:Hed) (5) พันธกิจของมหาวิทยาลัยศิลปากร และ (6) แนวทางการจัดการศึกษาวิชาชีพจดหมายเหตุและการจัดการเอกสารซึ่งกำหนดโดยสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศ (International Council on Archives - ICA)
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในหลักสูตรนี้ ตั้งแต่ ประเทศ รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้บริหารจัดการหลักสูตร ผู้สอน นักศึกษา มหาบัณฑิต ตลาดแรงงานและผู้ใช้มหาบัณฑิต
วัตถุประสงค์
1. ผลิตนักจดหมายเหตุและหรือบุคลากรหรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถบริหารจัดการกระบวนการจดหมายเหตุภายในองค์กรของตนได้ทุกกระบวนการ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการจดหมายเหตุและเอกสารซึ่งกำหนดโดยสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศ (International Council on Archives - ICA) ร่วมกับบริบทงานจดหมายเหตุในประเทศไทย
2. ผลิตนักจัดการสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมและหรือบุคลากรหรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการเอกสารและข้อมูลสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ที่สามารถนำหลักวิชาการทางการจัดการจดหมายเหตุและเอกสารและเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมในความรับผิดชอบของตนให้คงอยู่และเข้าถึงได้
3. ผลิตนักวิชาการด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถทำวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมมาพัฒนากระบวนงานเอกสารจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศ