หลักสูตร
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ปรัชญา
เข้าถึงท้องถิ่น เข้าใจความหลากหลาย ประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ มีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม
ความสำคัญ
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ การศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นเพื่อให้เข้าใจความหลากหลายผู้คนชุมชน วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น ท้องถิ่นกับสังคมประเทศ สังคมอาเซียน และสังคมโลก การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเข้าถึงพื้นที่ท่ามกลางความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตมากขึ้น ชุมชนท้องถิ่นจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์มากขึ้น
การศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเข้าใจและเข้าถึง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น ให้ท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจ ความหวงแหนในการรื้อฟื้น ส่งเสริมและสืบสานด้านศิลปวัฒนธรรม
ดังนั้นการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งดำเนินการเปิดหลักสูตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 มาแล้วนั้น นอกจากเป็นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ยังเป็นการส่งเสริมให้สามารถนำความรู้และการทำงานด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในการสร้างพลังท้องถิ่นที่นำไปสู่ความร่วมมือในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้สมดุล เข้มแข็งและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
2) เพื่อสร้างบัณฑิตให้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาหรือปัญหาร่วมสมัยทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3) เพื่อสร้างบัณฑิตให้ผลิตผลงานทางวิชาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
4) เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีจรรยาบรรณาทางวิชาการและเจตคติที่ดีต่อสังคม