โครงการเผยแพร่ความรู้อักษรโบราณ: อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ
.
“อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ” มีความสำคัญในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทยและเพื่อนบ้านเมื่อราว 1,000 กว่าปีก่อน เพราะเป็นอักษรโบราณที่ใช้ในประเทศอินเดียตอนใต้ และแพร่เข้ามาในอาณาจักรโบราณที่ตั้งอยู่ในอาเซียนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
ระยะแรกเริ่มนั้นได้ใช้ตัวอักษรจากอินเดียใต้สมัยราชวงศ์ปัลลวะมาบันทึกเรื่องราวต่างๆ จากนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชนชาติ รวมทั้งตัวอักษรไทยในปัจจุบันด้วย
การรู้อักษรปัลลวะจึงเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์โบราณคดีไทยและอาเซียน
.
ลักษณะกิจกรรม — บรรยายออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM MEETING เกี่ยวกับความรู้เรื่องอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ และมีการฝึกปฏิบัติ
.
วิทยากร — ผศ. ดร.กังวล คัชชิมา, อ. ดร.อุเทน วงศ์สถิตย์, อ. ดร. ชัชพิสิฐ ปาชะนี จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
.
กำหนดการ — อบรมทุกจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 20 ก.พ. – 17 มี.ค. 66 (หยุดวันที่ 5 และ 6 มี.ค. 66) เวลา 20.00-22.00 น. รวม 13 วัน 26 ชั่วโมง
.
ค่าลงทะเบียน — 2,500 บาท
.
ช่องทางสำรองที่นั่ง — FACEBOOK วิจัยและบริการวิชาการคณะโบราณคดี โทรศัพท์ 08-8752-6405 (นนท์พิเชษฐ์ชาญ)
.
ดูรายละเอียดโครงการและกำหนดการได้ในลิงค์