หลักสูตร
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567/ นานาชาติ)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
ปรัชญา
ส่งเสริมการเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนาตนและชาติด้วยภาษาและวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) เป็นหลักสูตรที่นอกจากจะศึกษาภาษาและวรรณคดีไทยแล้ว ยังบูรณาการการศึกษาและการวิจัยด้านภาษาและวรรณคดีไทยกับการเรียนรู้ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาจารึกและเอกสารโบราณ อันเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของไทย ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพในด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย ภาษาศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านจารึกและอักษรโบราณ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ และมี
ความสามารถในการค้นคว้า วิจัยทางด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย
ภาษาศาสตร์ จารึกและเอกสารโบราณ
2) เพื่อสร้างบัณฑิตที่สามารถถ่ายทอดและนำองค์ความรู้ในวิชาการสาขาวิชา
ภาษาไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพ อนุรักษ์และสร้างเสริมวัฒนธรรมไทย
อย่างมีประสิทธิภาพ