หลักสูตร
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567/ นานาชาติ)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
ปรัชญา
สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ สามารถคิด ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ
ความสำคัญ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ส่งเสริมให้บัณฑิตได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางศิลปกรรมเหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกสำคัญของชาติและของโลกที่นับวันจะเสื่อมสูญไป ทั้งจากการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา และถูกทำลายเนื่องด้วยคนที่ไม่เห็นคุณค่า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะจึงเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของศิลปกรรมและช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวให้คงอยู่สืบไป รวมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาและการจัดการศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมามีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ ที่ส่งผลต่อศิลปวัฒนธรรมของชาติและของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น การเสื่อมสภาพของแหล่งศิลปกรรม ทั้งที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา การเสื่อมสภาพด้วยฝีมือมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนภัยคุกคามที่ไม่คาดฝัน การศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะจึงเป็นศาสตร์สำคัญที่จะเสริมสร้างให้ได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของศิลปกรรมที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง แต่ละยุคสมัย ทำให้เข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของตนเองและของสังคมอื่น
การค้นพบหลักฐานศิลปกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การกระจายอำนาจในการดูแลแหล่งโบราณสถานและแหล่งศิลปกรรมจากกรมศิลปากรไปยังท้องถิ่น รวมทั้งการตื่นตัวทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และพื้นที่ทางศิลปะต่าง ๆ ที่มากขึ้น ตลอดจนการท่องเที่ยวซึ่งปัจจุบันมีผลทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยจำนวนมหาศาล จุดดึงดูดสำคัญของการท่องเที่ยวก็คือโบราณวัตถุสถานซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการอนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ จึงทำให้จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีศักยภาพทางด้าประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อนำความรู้ไปบริหารจัดการและสามารถพัฒนาองค์ความรู้ให้วงการวิชาการด้านนี้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถนำความรู้ไปบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่น เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการหรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมได้
วัตถุประสงค์
1) สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปะทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น
2) สร้างบัณฑิตที่สามารถค้นคว้า พิจารณา วิเคราะห์ข้อมูล วิจัยขั้นพื้นฐานและสร้างสรรค์
ผลงานได้
3) สร้างบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้
4) สร้างบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบและจริยธรรมทางวิชาการ
ภาคการศึกษา 1/2566 คลิกที่นี่
ภาคการศึกษา 2/2566 คลิกที่นี่