หลักสูตร
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
- สาขาวิชาโบราณคดี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567/ นานาชาติ)
- สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
- สาขาวิชามานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชามานุษยวิทยา
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
- สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา
ปรัชญา
ความรู้ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามบนพื้นฐานของความเข้าใจในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ความสำคัญ
วิชามานุษยวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่นโดยเน้นการศึกษาวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายเพื่อนำไปสู่การยอมรับในความแตกต่างและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมตามบริบทเงื่อนไขเฉพาะพื้นที่ การศึกษาวิชานี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม และผู้คน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความรู้ในเรื่องแนวคิดทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาอัน
นำไปสู่การสร้างทักษะและความสามารถทางด้านการวิจัยเพื่อการทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์
2) เสริมสร้างลักษณะนิสัยและพัฒนาจิตใจที่ยอมรับความแตกต่างของกลุ่มสังคมที่
ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและ
เทคโนโลยีทั้งในสังคมไทยและในระบบสังคมโลก อันจะเป็นพื้นฐานของการสร้าง
สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยอมรับในภูมิปัญญาและสิทธิชุมชนประเภทต่าง ๆ ที่จะอยู่
ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรี
3) เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะสามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธี
วิจัยทางด้านมานุษยวิทยาในการทำงานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมใน
หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน และเพื่อการพัฒนาประเทศ
4) เพื่อสร้างและผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
สังคมและประเทศชาติ
ภาคการศึกษา 1/2566 คลิกที่นี่
ภาคการศึกษา 2/2566 คลิกที่นี่